วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ครูเทพนม จันทรังษี

ชื่อเรื่อง      รายงานผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ชื่อผู้รายงาน นายเทพนม  จันทรังษี     โรงเรียนบ้านหนองนาเลิศ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร  เขต  1บทคัดย่อ      การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนในการจัด    กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม กับนักเรียน จำนวน 18 คนโรงเรียนบ้านหนองนาเลิศ  ตำบลม่วงลาย   อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการซึ่งมีวัตถุประสงค์  1)เพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  2)เพื่อหาความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  3)เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  4)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 5)เพื่อหาค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาแลพลศึกษา(สาระสขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การศึกษาครั้งนี้ทำการทดลองที่โรงเรียนบ้านหนองนาเลิศ  ตำบลม่วงลาย อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1  โดยใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นกลุ่มทดลอง 18 คน และสร้างบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่มนำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดสอบกับนักเรียนกลุ่มย่อย  3  คน โดยคละระหว่างนักเรียน เก่ง  ปานกลาง  อ่อน  นำบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)มาปรับปรุงแก้ไขแล้วนำไปทดลองกับนักเรียนกลุ่มปานกลาง  5- 10  คนโดยคละนักเรียน  เก่ง  ปานกลาง  อ่อน  นำมาปรับปรุงแก้ไขแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน  5  คนตรวจสอบความถูกต้องนำบทเรียนสำเร็จรูปที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องมาปรับปรุงแก้ไข  แล้วไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มทดลอง โดยใช้เวลาสอน 8 สัปดาห์  ผู้ศึกษาได้สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  40  ข้อ โดยผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน  5  คน  นำมาปรับปรุงแก้ไขแล้วนำมาทดสอบกับนักเรียนกลุ่มทดลองโดยทดสอบก่อนเรียนบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  แล้วเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ  พลศึกษา(สาระสุขศึกษา)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ละเล่มเมื่อจบแต่ละเล่มก็จะใช้แบบทดสอบหลังเรียนทดสอบเรื่องที่เรียนในเล่มนั้น ๆ โดยแบบทดสอบหลังเรียน  จำนวน  10  ข้อ  จนครบทุกเล่ม  เว้นระยะเวลาประมาณ 2- 3 วันแล้วจึงนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมาทดสอบนักเรียนกลุ่มทดลองอีกครั้งหนึ่งนำคะแนนที่ได้มารวมกัน หาค่าเฉลี่ย หาค่าร้อยละ หาค่าแตกต่าง หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าประสิทธิภาพ หาค่าความเชื่อมั่น แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ผลการศึกษาพบว่า  1)บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยเฉลี่ยที่  4.63 แปลค่า  ดีมาก   ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้  3.50  2)บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีความสอดคล้องกันระหว่างแบบทดสอบกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังโดยเฉลี่ยที่  0.92  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้  0.50  3)บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  เท่ากับ  80.2083/81.4815  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน4) บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  5)นักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)เฉลี่ย 4.73 แปลความหมายอยู่ในระดับที่ดีมาก

ไม่มีความคิดเห็น: