วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551

ครูสุภาพ หัสจันทอง

6. การสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
การพัฒนาการเรียนรู้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านหนองเบญจ สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ได้ดำเนินการโดยนำชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 10 ชุด ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 23 คน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้
ผลการประเมินระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10 ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ย 4.80 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการเขียนมีค่าเฉลี่ย 4.70 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดรูปเล่มมีค่าเฉลี่ย 4.80 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 แปลความค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนที่เรียนชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10 มีคะแนนระหว่างเรียนเฉลี่ยร้อยละ 84.19 คะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 88.48 แสดงว่าหนังสือส่งเสริมการอ่านมีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 84.19/88.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80 / 80
ผลการประเมินความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กับผลการเรียนรู้
ที่คาดหวังของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญมีค่าดัชนีความสอดคล้องโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่ตั้งไว้ คือ .50
ผลการเปรียบเทียบความต่างของคะแนนการทดสอบก่อน และหลังเรียน จากชุดฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10 ปรากฏว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองเบญจ ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

7. อภิปรายผล
ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความก้าวหน้าต่อการเรียนรู้ทุกเนื้อหา ทั้งนี้เพราะในการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ได้ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

71

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้น มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง สอดคล้องกับ นโยบาย
การใช้ การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน และการใช้สื่อการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาของกรมวิชาการ ซึ่งสนับสนุน และส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำสื่อและหนังสือประกอบการเรียนการสอน ทุกระดับชั้น ทุกกลุ่มประสบการณ์ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพราะสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง และสอดคล้องกับคำกล่าวของ จินตนา ใบกาซูยี (2533 : 126) ซึ่งกล่าวว่า สื่อการสอนประเภทหนังสือเสริมประสบการณ์ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ที่หน่วยงานของรัฐ โรงเรียน และเอกชนจัดทำขึ้นมีความสำคัญ สอดคล้องกับงานวิจัยของ วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ และคนอื่น ๆ (2544 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่องพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
เรื่องฟักทองของนิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลเมืองมหาสารคาม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีพัฒนาการพฤติกรรมการเรียนรู้ดีขึ้น ด้วยการสังเกตพฤติกรรม และคะแนนเฉลี่ยจากแบบฝึกทักษะ การทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ 93.96/83.42 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุริยา ตอพล (2541 : บทคัดย่อ) ได้สร้างหนังสือเรียนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เรื่องเที่ยวงานย่าโม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่าหนังสือเรียนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เรื่องเที่ยวงานย่าโม มีประสิทธิภาพร้อยละ 83.53/81.11 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อน และหลังเรียน พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากที่กล่าวมาทั้งหมด เพียงพอที่จะสนับสนุนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองเบญจ ดีขึ้นหลังจาก
การใช้ ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ที่ได้นำมาทดลองใช้แล้วสามารถสรุปได้ว่า นวัตกรรมที่ผู้ศึกษา ได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และมี
การเผยแพร่ต่อไป

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551

ครูดุษณี มณีบู่

ชื่อเรื่อง การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านและแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก
ผู้ศึกษา นางดุษณี มณีบู่
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองเบญจ ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การศึกษาการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านและแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก (2) เพื่อหาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก ตามเกณฑ์ 80/80 และ (3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านและแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุดหลักภาษาพาสนุก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านหนองเบญจ อำเภอนิคมน้ำอูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 16 คน โดยการสุ่มแบบ
เจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก จำนวน 10 ชุด (2) แบบฝึกทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก จำนวน 10 ชุด (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชุดหลักภาษาพาสนุก เป็นแบบเลือกตอบ ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ (4) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก จำนวน 40 แผน ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.26/83.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
สรุปได้ว่า หนังสือส่งเสริมการอ่านที่สร้างขึ้น ครูที่สอนภาษาไทยและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้ในการสอนได้ และเป็นแนวทางในการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านและนวัตกรรมการสอนภาษาไทยในเรื่องอื่น ๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2551

ครูเพ็ญศรี หัสจันทอง

6. การสรุปผล
การพัฒนาการเรียนรู้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปลิง สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ได้ดำเนินการโดยนำชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 10 ชุด ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 22 คน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้
ผลการประเมินระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10 ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ย 4.90 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการเขียนมีค่าเฉลี่ย 4.80 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดรูปเล่มมีค่าเฉลี่ย 4.80 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 แปลความค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกพบว่า นักเรียนที่เรียนชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10 มีคะแนนระหว่างเรียนเฉลี่ยร้อยละ 85.89 คะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 88.64 แสดงว่าหนังสือส่งเสริมการอ่านมีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 85.89 / 88.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80 / 80
ผลการประเมินความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กับผลการเรียนรู้
ที่คาดหวังของหนังสือส่งเสริมการอ่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่ตั้งไว้ คือ .50
ผลการเปรียบเทียบความต่างของคะแนนการทดสอบก่อน และหลังเรียน จากชุดฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10 ปรากฏว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปลิง ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. อภิปรายผล
ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความก้าวหน้าต่อการเรียนรู้ทุกเนื้อหา ทั้งนี้เพราะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้น มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง สอดคล้องกับนโยบายการใช้การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน และการใช้สื่อการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาของกรมวิชาการ ซึ่งสนับสนุน และส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำสื่อและหนังสือประกอบการเรียนการสอน ทุกระดับชั้น ทุกกลุ่มประสบการณ์ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพราะสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง และสอดคล้องกับคำกล่าวของ จินตนา ใบกาซูยี (2533 : 126) ซึ่งกล่าวว่า สื่อการสอนประเภทหนังสือเสริมประสบการณ์ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ที่หน่วยงานของรัฐ โรงเรียน และเอกชนจัดทำขึ้นมีความสำคัญ สอดคล้องกับงานวิจัยของ วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ และคนอื่นๆ (2544 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่องพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เรื่องฟักทองของนิดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลเมืองมหาสารคาม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีพัฒนาการพฤติกรรมการเรียนรู้ดีขึ้น ด้วยการสังเกตพฤติกรรม และคะแนนเฉลี่ยจากแบบฝึกทักษะ การทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ 93.96/83.42 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากที่กล่าวมาทั้งหมด เพียงพอที่จะสนับสนุนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปลิง ดีขึ้นหลังจากการใช้ ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ที่ได้นำมาทดลองใช้แล้วสามารถสรุปได้ว่า นวัตกรรมที่ผู้ศึกษา ได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และมีการเผยแพร่ต่อไป