วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ครูชัยณรงค์ บุญรักษา

ชื่อเรื่อง                                   :  รายงานการใช้ ชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ    และเทคโนโลยี เรื่องกระบวนการผลิตพืชและสัตว์ตามท้องถิ่น  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า                    :  ชัยณรงค์  บุญรักษาระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า  :  พฤษภาคม 2550 – ตุลาคม  2550บทคัดย่อ        การศึกษาค้นคว้า เรื่อง รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องกระบวนการผลิตพืชและสัตว์ตามท้องถิ่น  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องกระบวนการผลิตพืชและสัตว์ท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ  80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องกระบวนการผลิตพืชและสัตว์ท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องกระบวนการผลิตพืชและสัตว์ตามท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2550  จำนวน 26 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ประกอบด้วย  1)ชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องกระบวนการผลิตพืชและสัตว์ตามท้องถิ่น  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีจำนวน 30 ข้อ  3) แบบสอบถามนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวน 17 ข้อ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ และ การทดสอบค่าที t-test Dep endent Sample 

ครูบาล สัตถาผล

ชื่อเรื่อง รายงานการใช้หนังสือคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
การใช้ภาษาด้านการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1
โรงเรียนบ้านหนองเบญจ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2
ผู้ศึกษา นายบาล สัตถาผล
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนบ้านหนองเบญจ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2
ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1)เพื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ของหนังสือคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา การใช้ภาษาด้านการพูดของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของหนังสือ คำคล้องจองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาการใช้ภาษาด้านการพูดของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่มีค่าดัชนีประสิทธิผลสูงกว่าร้อยละ 50 3)เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1ัดประสบการณ์และหลังจัดประสบการณ์ด้วยหนังสือคำคล้องจอง 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ทางสติปัญญา การใช้ภาษาด้านการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านหนองเบญจ อำเภอนิคมน้ำอูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในศึกษา ประกอบด้วย หนังสือคำคล้องจอง แผนการจัดประสบการณ์ แบบวัดพัฒนาการ แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าที (t-test ชนิด Independent Samples) ค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาพบว่า1. หนังสือคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา การใช้ภาษา ด้านการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 89.13/93.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. หนังสือคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา การใช้ภาษา ด้านการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ได้ค่าดัชนีประสิทธิผลคิดเป็นร้อยละ 83.75 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 ที่ตั้งไว้3. ผลการทดสอบแบบวัดพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 หลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 . ความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ทางสติปัญญา การใช้ภาษาด้านการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกรายการ

ครูรัตนา วารี

ชื่อเรื่อง การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 1 ชุดมาตราตัวสะกดไทย
ผู้ศึกษา นางรัตนา วารี
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านคำบิดโคกโพนยาง สำนักงานเขตพื้นที่สกลนคร เขต 2

บทคัดย่อ

การศึกษาการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดมาตราตัวสะกดไทย มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อสร้างหนังสือ
ส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดมาตราตัวสะกดไทย
(2) เพื่อหาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดมาตราตัวสะกดไทย ตามเกณฑ์ 80/80 และ (3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชุดมาตราตัวสะกดไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านคำบิดโคกโพนยาง อำเภอวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 20 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดมาตราตัวสะกดไทย จำนวน 9 เล่ม (2) แบบฝึกทักษะ
ทางภาษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดมาตราตัวสะกดไทย จำนวน 9 ชุด(3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชุดมาตราตัวสะกดไทย เป็นแบบเลือกตอบ
ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ (4) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดมาตราตัวสะกดไทย จำนวน 36 แผน
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดมาตราตัวสะกดไทยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.00/83.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
สรุปได้ว่า หนังสือส่งเสริมการอ่านที่สร้างขึ้น ครูที่สอนภาษาไทยและผู้ที่มี
ส่วนเกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้ในการสอนได้ และเป็นแนวทางในการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านและนวัตกรรมการสอนภาษาไทยในเรื่องอื่น ๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ

ครูเทพนม จันทรังษี

ชื่อเรื่อง      รายงานผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ชื่อผู้รายงาน นายเทพนม  จันทรังษี     โรงเรียนบ้านหนองนาเลิศ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร  เขต  1บทคัดย่อ      การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนในการจัด    กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม กับนักเรียน จำนวน 18 คนโรงเรียนบ้านหนองนาเลิศ  ตำบลม่วงลาย   อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการซึ่งมีวัตถุประสงค์  1)เพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  2)เพื่อหาความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  3)เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  4)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 5)เพื่อหาค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาแลพลศึกษา(สาระสขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การศึกษาครั้งนี้ทำการทดลองที่โรงเรียนบ้านหนองนาเลิศ  ตำบลม่วงลาย อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1  โดยใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นกลุ่มทดลอง 18 คน และสร้างบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่มนำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดสอบกับนักเรียนกลุ่มย่อย  3  คน โดยคละระหว่างนักเรียน เก่ง  ปานกลาง  อ่อน  นำบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)มาปรับปรุงแก้ไขแล้วนำไปทดลองกับนักเรียนกลุ่มปานกลาง  5- 10  คนโดยคละนักเรียน  เก่ง  ปานกลาง  อ่อน  นำมาปรับปรุงแก้ไขแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน  5  คนตรวจสอบความถูกต้องนำบทเรียนสำเร็จรูปที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องมาปรับปรุงแก้ไข  แล้วไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มทดลอง โดยใช้เวลาสอน 8 สัปดาห์  ผู้ศึกษาได้สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  40  ข้อ โดยผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน  5  คน  นำมาปรับปรุงแก้ไขแล้วนำมาทดสอบกับนักเรียนกลุ่มทดลองโดยทดสอบก่อนเรียนบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  แล้วเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ  พลศึกษา(สาระสุขศึกษา)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ละเล่มเมื่อจบแต่ละเล่มก็จะใช้แบบทดสอบหลังเรียนทดสอบเรื่องที่เรียนในเล่มนั้น ๆ โดยแบบทดสอบหลังเรียน  จำนวน  10  ข้อ  จนครบทุกเล่ม  เว้นระยะเวลาประมาณ 2- 3 วันแล้วจึงนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมาทดสอบนักเรียนกลุ่มทดลองอีกครั้งหนึ่งนำคะแนนที่ได้มารวมกัน หาค่าเฉลี่ย หาค่าร้อยละ หาค่าแตกต่าง หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าประสิทธิภาพ หาค่าความเชื่อมั่น แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ผลการศึกษาพบว่า  1)บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยเฉลี่ยที่  4.63 แปลค่า  ดีมาก   ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้  3.50  2)บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีความสอดคล้องกันระหว่างแบบทดสอบกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังโดยเฉลี่ยที่  0.92  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้  0.50  3)บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  เท่ากับ  80.2083/81.4815  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน4) บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  5)นักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สาระสุขศึกษา)เฉลี่ย 4.73 แปลความหมายอยู่ในระดับที่ดีมาก

ครูรัตน์มณี สุพรมจักร์

ชื่อเรื่อง  :  รายงานผลการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่4ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า : นางรัตน์มณี  สุพรมจักร์ 
ระยะเวลาในการศึกษา : วันที่  13  พฤศจิกายน  2550 – 7  กุมภาพันธ์  2551
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่4มีความมุงหมายของการศึกษาคือ(1)เพื่อสร้างและพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่4 
ที่มีประสิทธิภาพ(2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4โรงเรียนบ้านหนองเบญจ สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาสกลนครเขต2ปีการศึกษา2550จำนวน23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา1.เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาพัฒนาการเรียนรู้
มีรายละเอียดดังนี้1.1 ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 10  ชุด 1.2  แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ แต่ละชุดจำนวนชุดละ 3 แผนการเรียนรู้ 2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2.1แบบทดสอบหลังเรียน   จากชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน  10ชุด  ชุดละ10 2.2  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน โดยใช้ประเมินผลก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญชั้นประถมศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 1ชุด 20 ผลการศึกษาพบว่า1.การประเมินระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่4พบว่าระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญชุดที่1ถึง 10 ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ย  4.83 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการเขียนมีค่าเฉลี่ย  4.80  ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด  คด้านการจัดรูปเล่มมีค่าเฉลี่ย  5 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด  สรุปโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.88 แปลความค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนที่เรียนชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10  มีคะแนนระหว่างเรียนเฉลี่ยร้อยละ  82.52  คะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ  94.35    แสดงว่าหนังสือส่งเสริมการอ่านมีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ82.52 / 94.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ80 / 80 3.การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนการสอบก่อน และหลังเรียนจากชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญชั้นประถมศึกษาปีที่4  พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ12.13 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ1.99หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 18.87 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ  1.74  ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.การเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้  t- test  ค่า  t ที่คำนวณได้คือ  22.24 ค่า  t  จากตาราง คือ  2.508  ค่า  tคำนวณมากกว่า  ค่า  t  ตาราง   แสดงว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  หมายความว่า  หลังการใช้ ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แล้ว  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน

ครูกรรณิกา จันทรังษี

ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้และศึกษาผลพัฒนากล้ามเนื้อเล็กและสังคมนิสัย
ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2
โรงเรียนบ้านหนองนาเลิศ ปีการศึกษา 2550
ชื่อผู้รายงาน นางกรรณิกา จันทรังษี

บทคัดย่อ

รายงานผลการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการจัด กิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้สื่อผสมเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็กและสังคมนิสัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กและสังคมนิสัยของนักเรียนก่อนและหลังการทดลองใช้คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก จำนวน 10 ข้อ แบบสังเกตประเมินพฤติกรรมทางสังคมนิสัย จำนวน 4 องค์ประกอบ การมีวินัย การเป็นผู้นำ ผู้ตาม การเล่นและอยู่ร่วมกับผู้อื่น ความมีน้ำใจและรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุ 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านหนอง
นาเลิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะ จง (Purposive sampling) เฉพาะห้องที่ผู้ศึกษาเป็นครูประจำชั้น รูปแบบที่ใช้ในการทดลองการศึกษาครั้งนี้ เป็นการทดลองเพื่อการพัฒนา โดยมีรูปแบบการทดลอง One – group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้สื่อผสมเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็กและสังคมนิสัย 2) แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ 20 แผน 3) กิจกรรมสร้างสรรค์ 100 กิจกรรม 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก 10 ข้อ 5) แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมนิสัย 4 องค์ประกอบ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้ค่า E1 / E2 ค่าร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟา (coefficient) และใช้ t – test แบบ dependent


ผลการศึกษาพบว่า
1. คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ประกอบการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้สื่อผสมเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็กและสังคมนิสัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพในภาพรวมเท่ากับ81.0278./81.6667ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาในแต่ละกิจกรรม พบว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ที่ตั้งไว้ คือ 80 / 80 ทุกกิจกรรม
2. คะแนนการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กและสังคมนิสัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ใช้คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
2.1 คะแนนด้านความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 คะแนนด้านสังคมนิสัย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551

ครูสุภาพ หัสจันทอง

6. การสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
การพัฒนาการเรียนรู้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านหนองเบญจ สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ได้ดำเนินการโดยนำชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 10 ชุด ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 23 คน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้
ผลการประเมินระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10 ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ย 4.80 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการเขียนมีค่าเฉลี่ย 4.70 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดรูปเล่มมีค่าเฉลี่ย 4.80 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 แปลความค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนที่เรียนชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10 มีคะแนนระหว่างเรียนเฉลี่ยร้อยละ 84.19 คะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 88.48 แสดงว่าหนังสือส่งเสริมการอ่านมีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 84.19/88.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80 / 80
ผลการประเมินความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กับผลการเรียนรู้
ที่คาดหวังของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญมีค่าดัชนีความสอดคล้องโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่ตั้งไว้ คือ .50
ผลการเปรียบเทียบความต่างของคะแนนการทดสอบก่อน และหลังเรียน จากชุดฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10 ปรากฏว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองเบญจ ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

7. อภิปรายผล
ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความก้าวหน้าต่อการเรียนรู้ทุกเนื้อหา ทั้งนี้เพราะในการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ได้ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

71

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้น มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง สอดคล้องกับ นโยบาย
การใช้ การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน และการใช้สื่อการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาของกรมวิชาการ ซึ่งสนับสนุน และส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำสื่อและหนังสือประกอบการเรียนการสอน ทุกระดับชั้น ทุกกลุ่มประสบการณ์ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพราะสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง และสอดคล้องกับคำกล่าวของ จินตนา ใบกาซูยี (2533 : 126) ซึ่งกล่าวว่า สื่อการสอนประเภทหนังสือเสริมประสบการณ์ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ที่หน่วยงานของรัฐ โรงเรียน และเอกชนจัดทำขึ้นมีความสำคัญ สอดคล้องกับงานวิจัยของ วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ และคนอื่น ๆ (2544 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่องพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
เรื่องฟักทองของนิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลเมืองมหาสารคาม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีพัฒนาการพฤติกรรมการเรียนรู้ดีขึ้น ด้วยการสังเกตพฤติกรรม และคะแนนเฉลี่ยจากแบบฝึกทักษะ การทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ 93.96/83.42 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุริยา ตอพล (2541 : บทคัดย่อ) ได้สร้างหนังสือเรียนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เรื่องเที่ยวงานย่าโม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่าหนังสือเรียนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เรื่องเที่ยวงานย่าโม มีประสิทธิภาพร้อยละ 83.53/81.11 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อน และหลังเรียน พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากที่กล่าวมาทั้งหมด เพียงพอที่จะสนับสนุนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองเบญจ ดีขึ้นหลังจาก
การใช้ ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ที่ได้นำมาทดลองใช้แล้วสามารถสรุปได้ว่า นวัตกรรมที่ผู้ศึกษา ได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และมี
การเผยแพร่ต่อไป

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551

ครูดุษณี มณีบู่

ชื่อเรื่อง การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านและแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก
ผู้ศึกษา นางดุษณี มณีบู่
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองเบญจ ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การศึกษาการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านและแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก (2) เพื่อหาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก ตามเกณฑ์ 80/80 และ (3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านและแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุดหลักภาษาพาสนุก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านหนองเบญจ อำเภอนิคมน้ำอูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 16 คน โดยการสุ่มแบบ
เจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก จำนวน 10 ชุด (2) แบบฝึกทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก จำนวน 10 ชุด (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชุดหลักภาษาพาสนุก เป็นแบบเลือกตอบ ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ (4) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก จำนวน 40 แผน ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดหลักภาษาพาสนุก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.26/83.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
สรุปได้ว่า หนังสือส่งเสริมการอ่านที่สร้างขึ้น ครูที่สอนภาษาไทยและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้ในการสอนได้ และเป็นแนวทางในการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านและนวัตกรรมการสอนภาษาไทยในเรื่องอื่น ๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2551

ครูเพ็ญศรี หัสจันทอง

6. การสรุปผล
การพัฒนาการเรียนรู้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปลิง สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ได้ดำเนินการโดยนำชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 10 ชุด ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 22 คน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้
ผลการประเมินระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10 ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ย 4.90 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการเขียนมีค่าเฉลี่ย 4.80 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดรูปเล่มมีค่าเฉลี่ย 4.80 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 แปลความค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกพบว่า นักเรียนที่เรียนชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10 มีคะแนนระหว่างเรียนเฉลี่ยร้อยละ 85.89 คะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 88.64 แสดงว่าหนังสือส่งเสริมการอ่านมีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 85.89 / 88.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80 / 80
ผลการประเมินความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กับผลการเรียนรู้
ที่คาดหวังของหนังสือส่งเสริมการอ่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่ตั้งไว้ คือ .50
ผลการเปรียบเทียบความต่างของคะแนนการทดสอบก่อน และหลังเรียน จากชุดฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความสำคัญ ชุดที่ 1 ถึง 10 ปรากฏว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปลิง ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. อภิปรายผล
ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความก้าวหน้าต่อการเรียนรู้ทุกเนื้อหา ทั้งนี้เพราะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้น มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง สอดคล้องกับนโยบายการใช้การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน และการใช้สื่อการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาของกรมวิชาการ ซึ่งสนับสนุน และส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำสื่อและหนังสือประกอบการเรียนการสอน ทุกระดับชั้น ทุกกลุ่มประสบการณ์ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพราะสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง และสอดคล้องกับคำกล่าวของ จินตนา ใบกาซูยี (2533 : 126) ซึ่งกล่าวว่า สื่อการสอนประเภทหนังสือเสริมประสบการณ์ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ที่หน่วยงานของรัฐ โรงเรียน และเอกชนจัดทำขึ้นมีความสำคัญ สอดคล้องกับงานวิจัยของ วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ และคนอื่นๆ (2544 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่องพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เรื่องฟักทองของนิดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลเมืองมหาสารคาม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีพัฒนาการพฤติกรรมการเรียนรู้ดีขึ้น ด้วยการสังเกตพฤติกรรม และคะแนนเฉลี่ยจากแบบฝึกทักษะ การทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ 93.96/83.42 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากที่กล่าวมาทั้งหมด เพียงพอที่จะสนับสนุนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปลิง ดีขึ้นหลังจากการใช้ ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ที่ได้นำมาทดลองใช้แล้วสามารถสรุปได้ว่า นวัตกรรมที่ผู้ศึกษา ได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และมีการเผยแพร่ต่อไป

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ครูปรียะ สุพรมจักร์

ชื่อเรื่อง : รายงานการใช้ชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า : นายปรียะ สุพรมจักร์
ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า : พฤษภาคม 2550 – ตุลาคม 2550

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้า เรื่อง รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อสร้างพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนตาม
ชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้ชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา มีจำนวน 40 ข้อ 3) แบบสอบถามนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีจำนวน 17 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ และ การทดสอบค่าที t-test Dependent Sample
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. ชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.54/82.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนตามชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นหลังเรียนตามชุดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง
การเสริมสร้างสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก